15 มิถุนายน 2557

รายวิชาหน้าที่พลเมือง ชั้น ม.2

สำหรับรายวิชาหน้าที่พลเมือง ขั้น ม.2 นักเรียนสามารถคลิกเข้าไปศึกษาล่วงหน้าได้ ดังนี้ 1. สรุปเนื้อหารายวิชาหน้าที่พลเมือง ชั้น ม.2 2. พลเมืองที่ดีในสังคมไทย 3. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 4. แบบทดสอบออนไลน์

รายวิชาพระพุทธศาสนา ชั้น ม.2

ในปีการศึกษา 2557 รายวิชาพระพุทธศาสนา ชั้น ม.2 ที่ครูสอน ชั้น ม.2/1, ม.2/3, ม.2/5, ม.2/7, ม.2/9 และ ม.2/11 มีรายละเอียดของเนื้อหาบทเรียน แบบฝึกหัด และแบบทดสอบ สามารถคลิกเข้าไปศึกษาล่วงหน้าได้ที่นี่

15 กุมภาพันธ์ 2555

ทวียุโรป



       ทวีปยุโรปเป็นทวีปที่มีความสำคัญมาตั้งแต่สมัยโบราณ เพราะเป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรมต่างๆของโลก เป็นดินแดนที่ก่อเกิดวิทยาการสมัยใหม่ ปัจจุบันยุโรปเป็นศูนย์กลางความเจริญทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
ที่ตั้งและอาณาเขตติดต่อ
       ทวีปยุโรปตั้งอยู่ในซีกโลก เหนือ ทั้งหมด ทวีปยุโรปมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 6 จาก
ทั้งหมด 7 ทวีป มีอาณาเขตติดกับทวีปเอเชียด้านทิศ ตะวันออก ซึ่งเรียกชื่อทวีปทวีปทั้งสองรวมกันว่า ยูเรเซีย ทวีปยุโรปมีที่ตั้งอยู่กึ่งกลางทวีปต่างๆและตั้งอยู่ในเส้นทางการเดินเรือที่สำคัญของโลกส่งผลดีต่อทวีปยุโรปอย่างไร ทวีปยุโรปกลายเป็นศูนย์กลางทางการค้าที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทำให้ทวีปยุโรปมีความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจสูงมาก อดีตสหภาพโซเวียตแตกแยกเป็นสาธารณรัฐเอกราชจำนวน15 รัฐ เมื่อพ.ศ 2534 ตั้งอยู่ในทวีปยุโรป 7 สาธารณรัฐและยู่ในทวีปเอเชีย 8 สาธารณรัฐ เรียกชื่อประเทศใหม่ว่า “สหพันธรัฐรัสเซีย” เป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในทวีปยุโรปประเทศที่มีที่ตั้งอยู่ทั้งในทวีปยุโรปและทวีปเอเชียได้แก่ ประเทศตุรกี และ ประเทศสหพันธรัฐรัสเซีย ประเทศสหราชอาณาจักรและไอร์แลนด์เหนือ ตั้งอยู่บนเกาะ บริเตนใหญ่
ลักษณะภูมิประเทศ
       ทวีปยุโรปเป็นทวีปที่มีชายฝั่งทะเลยาวกว่าทวีปแอฟริกาทั้งๆที่มีขนาดเล็กกว่ามีชายฝั่ง
ทะเลเว้าแหว่งมาก ซึ่งถือเป็นลักษณะเด่นของทวีปยุโรป ชายฝั่งทะเลที่เว้าแหว่ง เป็นอ่าวลึกแคบและยาวเรียกว่า ฟยอร์ด ซึ่งเกิดจากการกระทำของธารน้ำแข็งทับถมกันเป็นเวลานาน พบมากในคาบสมุทรสแกนดิเนเวียในเขตประเทศนอร์เวย์ ภาคเหนือของฟินแลนด์มีทะเลสาบขนาดเล็กเป็นจำนวนมากจนได้รับสมญานามว่า ดินแดนแห่งทะเลสาบทั้งพัน เขตเกษตรกรรมที่สำคัญของทวีปยุโรปอยู่ในเขตภูมิประเทศเขต ที่ราบใหญ่ภาคกลาง เพราะเป็นที่ ราบ มีแม่น้ำใหลผ่านหลายสาย มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น
เขตที่ราบสูงของทวีปยุโรปจะพบทาง ตอนกลาง ที่สำคัญ ได้แก่ ที่ราบสูงมัสซีฟซองตรัล ใน
ประเทศฝรั่งเศส ,แบล็กฟอเรสต์ ในประเทศเยอรมนี เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำดานูบ
เขตเทือกเขาภาคใต้ เป็นเทือกเขาที่มีอายุน้อย ทำให้เกิดแผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิดเกิดขึ้นบ่อย
โดยเฉพาะในเขตประเทศ อดีตยูโกสลาเวีย อิตาลี และกรีซ
ลักษณะเด่นของแม่น้ำในทวีปยุโรป คือ มีความยาวไม่มากแต่มีน้ำไหลสม่ำเสมอตลอดปี ไหลผ่าน
ทีราบ ใช้ประโยชน์ในด้านการคมนาคมและการเกษตรกรรม ได้เป็นอย่างดี
แม่น้ำสายสำคัญที่สุดของทวีปยุโรป เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า แม่น้ำถ่านหิน คือ แม่น้ำไรน์ ไหลลงสู่
ทะเลเหนือที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยมีเมืองท่าสำคัญของทวีปตั้งอยู่ คือ เมืองท่ารอตเตอร์
ดัม แม่น้ำไรน์ถือเป็น แม่น้ำนานาชาติ เพราะไหลผ่านหลายประเทศ รวมทั้ง แม่น้ำดานูบ เพราะ
ไหลผ่านจำนวนประเทศมากที่สุดในทวีปยุโรป
ลักษณะภูมิอากาศ
       ทวีปยุโรปตั้งอยู่เหนือเส้นทรอปิกออฟแคนเซอร์อยู่ในแนวละติจูดกลางถึงสูง ส่งผลให้มีพื้นที่
ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอากาศอบอุ่นและพื้นที่บางส่วนทางตอนเหนืออยู่ในเขตหนาวของโลกเพราะมีเส้นอาร์กติกเซอร์เคิลลากผ่านทางตอนเหนือ และ ไม่มีพื้นที่อยู่ในเขตอากาศร้อนของโลก
ทวีปยุโรปไม่มีเขตอากาศแห้งแล้งแบบทะเลทราย เพราะมีชายฝั่งทะเลเว้าแหว่งมากทำให้อิทธิพล
ความชื้นจากมหาสมุทรและทะเล แผ่เข้าสู่ภายในทวีปอย่างทั่วถึง และมีลมประจำตะวันตกพัดผ่าน
นำความชื้นจากมหาสมุทรแอตแลนติก นำฝนมาตกในทวีปทางด้านตะวันตก
กระแสน้ำที่ไหลผ่านทางตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรป คือ กระแสน้ำอุ่นกัลสตรีม (แอตแลนติก
เหนือ) ส่งผลให้ชายฝั่งทะเลของนอร์เวย์น้ำไม่เป็นน้ำแข็งในฤดูหนาว
จากลักษณะภูมิอากาศส่งผลให้ทวีปยุโรปเป็นทวีปที่มีความเหมาะสมในการดำรงชีพเพราะมีอากาศ
อบอุ่น ไม่แห้งแล้ง มีฝนตกพอเพียงสำหรับการเพาะปลูก ทำให้ทวีปยุโรปมีประชากรจำนวนมาก
และหนาแน่น
ลักษณะทางเศรษฐกิจ
       แหล่งดินดำ (ดินดี) เหมาะสำหรับปลูกข้าวสาลีของทวีปยุโรป อยู่บริเวณภาคใต้ของรัสเซียและ
ประเทศยูเครน ทวีปยุโรปเป็นทวีปที่มีน้ำอุดมสมบูรณ์
แม่น้ำสายสำคัญได้แก่ แม่น้ำไรน์ , แม่น้ำเอลเบ , แม่น้ำดานูบ ฯลฯ
ไม้สำคัญของทวีปยุโรป คือ ไม้สน โดยแหล่งผลิตอยู่ในตอนเหนือของ
ทวีปเขตประเทศนอร์เวย์ สวีเดน ฟินแลนด์และตอนเหนือของสหพันธรัฐรัสเซีย นำไปผลิตเป็น
กระดาษ
แร่เหล็ก ถือเป็นแร่ธาตุที่เป็นรากฐานสำคัญของอุตสาหกรรมทวีปยุโรป จนทำให้ทวีป
ยุโรปเจริญก้าวหน้าทางด้านอุตสาหกรรมยุคใหม่ก่อนทวีปอื่นๆ แหล่งแร่เหล็กคุณภาพดี พบ
ใน แหล่งคิรูนาและเยลีวาร์ ในประเทศสวีเดน
แร่ถ่านหิน ถือเป็นแร่ธาตุที่มีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมของทวีปยุโรปมาก ซึ่งทวีปยุโรปสามารถผลิตแร่ถ่านหินคุณภาพดีได้ประมาณ 1 ใน 3 ของถ่านหินที่ผลิตได้ทั้งโลก แหล่งถ่านหินคุณภาพดีพบมากในแคว้นรูห์ แคว้นซาร์ ประเทศเยอรมนี
สวีเดนและเบลเยี่ยมเป็นผู้เผลิตเหลกกล้าที่มีคุณภาพดีที่สุดในโลก
น้ำมันปิโตรเลียม ในทวีปยุโรปพบมากบริเวณ ทะเลเหนือ รอบๆทะเลสาปแคสเปียน และ ที่ราบ ภาคกลางของสหพันธรัฐรัสเซีย
ปัจจัยที่สนับสนุนให้ทวีปยุโรปมีความเจริญก้าวหน้าด้านเศรษฐกิจ ได้แก่
- ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ
- ความเจริญก้าวหน้าด้านวิทยาการและเทคโนโลยี
- ความมีเสถียรภาพทางการเมือง
- ประชากรมีคุณภาพ
- มีการคมนาคมขนส่งที่ทันสมัย มีท่าเรือที่ทันสมัยติดต่อกับภูมิภาคอื่นๆได้สะดวก
- ตั้งอยู่ในเขตอากาศอบอุ่น มีประมาณน้ำฝนเพียงพอ อากาศไม่แห้งแล้ง
- มีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเกษตรกรรม
       ทวีปยุโรปเป็นทวีปที่มีความเจริญทางด้านเศรษฐกิจสูงมาก เนื่องจากมีทรพยากรที่อุดมสมบรณ์
มีบุคลากรที่มีความสามารถในด้านเทคโนโลยีและการจัดการสูง สามารถนำทรัพยากรธรรม
ชาติที่มีอยู่มาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรมและการค้า
ทวีปยุโรปได้แก้ปัญหาการแข่งขันทางการค้าภายในทวีปด้วยการจัดตั้งกลุ่มตลาดร่วมยุโรป
(E.E.C : European Econonmic community) หรือเรียกว่าตลาดร่วมยุโรป (common Market)
ต่อมาพัฒนาขึ้นเป็น E.U. และเปิดใช้เงินสกุลเดียวกันเรียกว่า เงินยูโร
       การเกษตรแบบผสมผสาน เป็นเกษตรที่แพร่หลายมากที่สุดในทวีปยุโรป มีลักษณะคือ มีการเพาะปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ควบคู่กันไป มีการปลูกพืชให้สัตว์กิน และมีการเลี้ยงสัตว์จำนวนมาก (ปศุสัตว์)พืชเศรษฐกิจที่สำคัญของทวีปยุโรป คือ ข้าวสาลี ผลิตได้ 1 ใน 3 ของผลผลิตข้าวสาลีของโลก โคนม เป็นสัตว์เศรษฐกิจ เลี้ยงได้ดีมากในเขตอากาศแบบภาคพื้นสมุทรชายฝั่งตะวันตก ได้แก่ ประเทศเดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ อังกฤษ เยอรมนี สวีเดน
แหล่งประมงสำคัญของทวีปยุโรปอยู่ในเขตทะเลเหนือและทะเลนอร์วีเจียน เรียกว่า
ดอกเกอร์แบงค์ เพราะมีชายฝั่งทะเลเว้าแหว่งมากและมีกระแสน้ำอุ่นไหลผ่าน ทำให้มี
แพลงตอนอาหารปลามาก ประเทศที่ได้ประโยชน์ได้แก่ อังกฤษ นอร์เวย์ สวีเดน เดนมาร์ก
ไอซ์แลนด์
       เขตอุตสาหกรรมที่สำคัญของทวีปยุโรป จะอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ได้แก่ อังกฤษ
ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม และในยุโรปกลาง ได้แก่ ประเทศเยอรมนี ออสเตรีย สวิตเซอร์แลนด์
กลุ่มทางเศรษฐกิจที่สำคัญของทวีปยุโรปที่เข้มแข็งมากที่สุดในโลก สหภาพยุโรป (EU) มีอำนาจ
ต่อรองทางการเมืองและทางเศรษฐกิจสูงมากกลุ่มหนึ่งของโลก
ลักษณะสังคมวัฒนธรรม
       ความเจริญเริ่มแรกของทวีปยุโรปเริ่มขึ้นทางภาคใต้ของทวีป บริเวณประเทศ
กรีซ (กรีก) ประเทศอิตาลีการสำรวจและมีการค้นพบทวีปใหม่ๆจัดอยู่ในยุคยุโรปสมัยใหม่ ในสมัยนี้ มีการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งแรกของโลกเกิดขึ้นที่ประเทศอังกฤษ เป็นอุตสาหกรรมเกี่ยวกับ การทอผ้าโดยใช้ เครื่องจักรไอน้ำ มีผลทำให้ทวีปยุโรปมีความก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมสูงมากบริเวณที่มีประชากรอยู่หนาแน่นจะอยู่ทางตะวันตกและตอนกลางของทวีปประชากรส่วนใหญ่ของทวีปยุโรปมีเชื้อสายคอเคซอยด์ มีผิวขาว ภาษาที่ใช้ในทวีปยุโรปจัดอยู่ในตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน ( ภาษาอังกฤษ )ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิกนิกาย
โปรแตสแตน และนิกาย กรีกออร์ทอดอกซ์
ลักษณะสังคมของทวีปยุโรปเป็นสังคมเมือง มีความเจริญทางด้านวัตถุ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ผู้คนรักการทำงาน ขยัน ขันแข็ง มีระเบียบวินัย เป็นสังคมครอบครัวเดี่ยว มีสมาชิกในครอบครัว
น้อยลักษณะเช่นนี้เป็นปัจจัยเสริมที่ทำให้ทวีปยุโรปเป็นทวีปที่มีความเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก
**************************************
ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้แล้วส่งครูทางอีเมล์ นะคะ
1. ทวีปยุโรปมีเนื้อที่ทั้งหมดอยู่ในซีกโลกใด?
2. ทวียุโรปมีเนื้อที่เป็นอันดับที่เท่าใดของโลก
3. ในทวีปยุโรปไม่ลักษณะภูมิอากาศแบบใด?
4. อดีตสหภาพโซเวียตแยกเป็นสาธารณรัฐเอกราชจำนวนกี่ รัฐ เมื่อ พ.ศ.ใด
5. อดีตสหภาพโซเวียตแยกตั้งอยู่ในทวีปยุโรป จำนวนกี่ สาธารณรัฐและอยู่ในทวีปกี่รัฐ
6. ประเทศที่มีที่ตั้งอยู่ทั้งในทวีปยุโรปและทวีปเอเชียได้แก่ประเทศใดบ้าง?
7. ฟยอร์ดคืออะไร พบมากในบริเวณใด?
8. ดินแดนแห่งทะเลสาบทั้งพัน หมายถึงประเทศใด?
9. เหตุที่ชายฝั่งทะเลของนอร์เวย์น้ำไม่เป็นน้ำแข็งในฤดูหนาวเพราะอะไร?
10. แหล่งแร่เหล็กคุณภาพดี พบในบริเวณใด?
11. ดอกเกอร์แบงค์หมายถึงอะไร
12. การเกษตรแบบผสมผสาน หมายถึงอะไร?
ทำแบบฝึกหัดเพิ่มเติม คลิกที่นี่

27 สิงหาคม 2552

ทวีปเอเชีย







ที่ตั้งของทวีปเอเชีย ทวีปเอเชียมีพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร มีตำแหน่งที่ตั้งตามพิกัดทางภูมิศาสตร์ ดังนี้ คือ จากละติจูด 1 องศา 16 ลิบดาเหนือ ถึง 77องศา 41 ลิบดาเหนือ และจากลองติจูด 26 องศา 4 ลิบดาตะวันออก ถึง 169 องศา 30 ลิบดาตะวันตก ทวีปเอเชียมีเนื้อที่ประมาณ 44 .3 ล้านตารางกิโลเมตรทวีปเอเชียได้รับสมญานามว่า "ทวีปแห่งความตรงกันข้าม" ความกว้างของทวีปนับจากประเทศตุรกีซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกไปจดประเทศญี่ปุ่นซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออก เป็นระยะทางยาว 9,600 กม.
ความยาวของทวีป วัดจากชายฝั่งมหาสมุทรอาร์กติกซึ่งอยู่ทางเหนือ ไปจดหมู่เกาะซาวู ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งอยู่ทางใต้ มีความยาวประมาณ 9,600 กม.ที่อินโดนีเซีย ซึ่งอยู่ทางใต้ มีความยาวประมาณ 9,600 กม. ซึ่งมีขนาดใหญ่เป็น 5 เท่าของทวีปออสเตรเลีย ทวีปเอเชีย มีประชากรประมาณ 3,070 ล้านคน ประกอบด้วย 40 ประเทศ และ 2 ดินแดนที่ยังมิได้เป็นประเทศโดยสมบูรณ์ ดังนั้นจึงได้มีการแบ่งทวีปเอเชียออกเป็นภูมิภาค โดยใช้หลักเกณฑ์ทางกายภาพ เศรษฐกิจ สังคมและการเมืองการปกครอง เป็นปัจจัยในการแบ่ง ซึ่งสามารถแบ่งทวีปเอเชียออกเป็น 5 ภูมิภาค โดยกำหนดชื่อเรียกตามทิศทางเป็นสำคัญ
1.ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
2.ภูมิภาคเอเชียตะวันออก
3.ภูมิภาคเอเชียใต้
4.ภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้
5.ภูมิภาคเอเชียกลาง
ลักษณะของภูมิประเทศของทวีปเอเชีย แบ่งออกได้เป็น 5 เขต ดังนี้
1. เขตที่ราบต่ำทางเหนือ คือ บริเวณตอนบนของทวีปซึ่งอยู่ในเขตประเทศสหภาพโซเวียต (เดิม) เป็นที่ราบดินตะกอนใหม่ มีความสำคัญทางเศรษฐกิจน้อยเพราะอยู่ในเขตอากาศหนาวเย็น
2. เขตเทือกเขาและที่ราบสูงตอนกลาง เป็นเขตพื้นที่อันกว้างใหญ่ที่เต็มไปด้วยเทือกเขาและที่ราบสูง โดยเริ่มจากตอนกลางของทวีปแล้วจึงแผ่ขยายแนวไปทางทิศตะวันออกออกเฉียงเหนือ ตะวันออกเฉียงใต้ และทางตะวันตก ยอดเขาและเทือกเขาที่สำคัญของทวีปเอเชียส่วนใหญ่จะอยู่ในเขตนี้
3. เขตที่ราบสูงภาคใต้ เป็นเขตที่ราบสูงหินเก่าตั้งอยู่ในบริเวณคาบสมุทร คือ ที่ราบสูงอาหรับในคาบสมุทรอาหรับ ที่ราบสูงเดดคานในคาบสมุทรอินเดีย ที่ราบสูงยูนนานในคาบสมุทรอินโดจีน โดยพื้นที่จะยกสูงทางตะวันตกแล้วค่อยๆลาดเทต่ำไปทางตะวัน
4. เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำใหญ่ เขตนี้เกิดจากแม่น้ำสายต่างๆ ที่อยู่ทางตะวันออกและทางใต้ของทวีป พัดพาเอาดินตะกอนมาทับถมกันจนกลายเป็นพื้นที่ราบลุ่มน้ำ ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์สูง เป็นแหล่งเกษตรกรรมสำคัญของทวีป เช่น ที่ราบลุ่มแม่น้ำฮวงโห ที่ราบแม่น้ำโขง ที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ราบลุ่มแม่น้ำคงคา ที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุ ที่ราบลุ่มแม่น้ำไทกริส - ยูเฟรติส เป็นต้น
5. เขตหมู่เกาะภูเขาไฟ เป็นเขตหินใหม่ คือ บริเวณหมู่เกาะอันเป็นที่ตั้งของภูเขาไฟ ทั้งที่ดับแล้วและที่ยังคุกรุ่นอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โครงสร้างทางธรณีวิทยาของทวีปเอเชีย ประกอบด้วยส่วนที่เป็นเขตหินเก่าและเขตหินใหม่ดังนี้
1. เขตหินเก่า มีอยู่ 3 บริเวณ คือ

1.1. บริเวณที่ราบสูงภาคเหนือ ในเขตประเทศสหภาพโซเวียต (เดิม)
1.2. บริเวณที่ราบสูงอาหรับในประเทศซาอุดิอาระเบีย
1.3 บริเวณที่ราบสูงเดดคานในประเทศอินเดีย
2. เขตหินใหม่ จะเริ่มจากแนวเทือกเขาในประเทศตุรกี ผ่านมาทางภูมิภาคเอเชียใต้ เอเชียตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งจะประกอบด้วยที่ราบสูง เทือกเขา และหมู่เกาะต่างๆ เขตนี้พื้นผิวโลกอ่อนตัวมาก จึงมีภูเขาไฟและแผ่นดินไหวอยู่เสมอ ลักษณะภูมิอากาศและพืชพรรณธรรมชาติของทวีปเอเชียสามารถแบ่งออกได้ดังนี้
1. แบบร้อนชื้นแถบศูนย์สูตร มีอุณหภูมิสูง ฝนตกชุก ช่วงฤดูแล้งสั้น โดยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมฤดูร้อน พืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าดงดิบ ได้แก่ บริเวณพื้นที่ตั้งแต่ภาคใต้ของไทยลงไป
2. แบบทุ่งหญ้าเมืองร้อน มีฤดูร้อนแห้งแล้งและฤดูฝนที่เด่นชัด มีฝนตกในฤดูร้อนและแห้งแล้งในฤดูหนาว พืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าโป่งสลับทุ่งหญ้า อากาศประเภทนี้อยู่บริเวณคาบสมุทรอินเดียและคาบสมุทรอินโดจีน
3. แบบมรสุมเขตอบอุ่น มีลักษณะคล้ายมรสุมเขตร้อน แต่ในฤดูหนาวอากาศหนาวเย็นกว่า พืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าไม้ใบกว้าง ผลัดใบในหน้าหนาวหรือป่าไม้แบบผสม เขตอากาศแบบนี้อยู่ในบริเวณชายฝั่งตะวันออกของจีน พื้นที่ประเทศญี่ปุ่น และคาบสมุทรเกาหลี
4. แบบทุ่งหญ้าอบอุ่นภายในทวีป อากาศจะหนาวจัดในฤดูหนาว (อุณหภูมิจะต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส) ในฤดูร้อนอากาศค่อนข้างเย็น ฝนตกน้อย พืชพรรณธรรมชาติเป็นทุ่งหญ้าที่มีหญ้าสั้น เช่นในเขตที่ราบตอนกลางของแมนจูเรีย มองโกเลีย และไซบีเรียตะวันออก
5. แบบทะเลทราย อากาศจะร้อนจัดในตอนกลางวัน พืชพรรณธรรมชาติเป็นพวกทุ่งหญ้าสั้นและไม้หนาม เขตอากาศแบบนี้จะมีกระจายกันเป็นหย่อมๆ แต่ที่มีแผ่เป็นบริเวณกว้าง ได้แก่ บริเวณคาบสมุทรอาหรับ ตะวันตกของคาบสมุทรอินเดีย และบริเวณตอนกลางของทวีปเอเชีย
6. แบบเมดิเตอร์เรเนียน ในฤดูร้อนอุณหภูมิสูง อากาศร้อนและแห้งแล้ง ในฤดูหนาวอากาศจะอบอุ่นชื้นและมีฝนตก พืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าไม้ไม่ผลัดใบ เช่น ไม้ซีดาร์ ได้แก่ บริเวณพื้นที่ทางตะวันออกของทวีปที่ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
7. แบบกึ่งขั้วโลก เขตนี้มีอากาศหนาวจัด มีหิมะตกเกือบตลอดปี พืชพรรณธรรมชาติเป็นพวกไม้สน เขตอากาศแบบนี้จะอยู่ทางตอนบนของทวีป โดยเฉพาะเขตไซบีเรียของสาธารณรัฐรัสเซีย
8. แบบขั้วโลกหรือทุนดรา อากาศจะหนาวจัดมาก พื้นดินปกคลุมด้วยหิมะเกือบตลอดทั้งปี พืชพรรณธรรมชาติส่วนใหญ่เป็นพวกตะไคร่น้ำและหญ้ามอสซึ่งจะขึ้นได้บ้างในฤดูร้อน เขตอากาศแบบนี้จะอยู่ทางตอนบนสุดของทวีปบริเวณที่จดชายฝั่งมหาสมุทรอาร์กติก

10 เมษายน 2552

ประวัติและความสำคัญของพระพุทธศาสนา

พระพุทธศาสนา

ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประเภทอเทวนิยม และเป็นหนึ่งในสามของศาสนาโลก ผู้ประกาศศาสนาและเป็นศาสดาของศาสนาพุทธคือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงตรัสรู้เมื่อวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนวิสาขะหรือเดือน ๖ ณ ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ ประเทศอินเดีย ๔๕ ปี ก่อนพุทธศักราช ปัจจุบันสถานที่นี้ เรียกว่า พุทธคยา อยู่ห่างจากเมืองคยาประมาณ ๑๑ กิโลเมตร จากนั้นพุทธศาสนาได้แพร่หลายไปทั่วอินเดีย หลังพุทธปรินิพพาน 100 ปี จึงแตกเป็นนิกายย่อย โดยนิกายที่สำคัญคือ เถรวาทและมหายาน

พระโคตมพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน เดิมชื่อเจ้าชายสิทธัตถะ เกิดในศากยวงศ์ แห่งกรุงกบิลพัสด์ พระบิดาคือพระเจ้าสุทโธทนะ พระมารดาคือ พระนางสิริมหามายา เสด็จออกผนวชเมื่อพระชนมายุ 29 พรรษา บำเพ็ญเพียรอยู่ 6 ปี จึงตรัสรู้เมื่อ พระชนมายุ 35 พรรษา ทรงประกาศพระศาสนาอยู่ 45 ปี เสด็จปรินิพพานเมื่อพระขนมายุได้ 80 พรรษา ซึ่งเป็นปีเริ่มต้นของการนับพุทธศักราช เมื่อพระองค์ตรัสรู้แล้ว ได้เสด็จไปที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี เพื่อโปรดปัญจวัคคีย์พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาแก่พวกปัญจวัคคีย์ ชื่อ ธัมมจักกัปปวัตนสูตร ผลก็คือทำให้พระอัญญาโกณทัญญะได้เป็นพระโสดาบัน แล้วทูลขออุปสมบทในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ จึงเป็นพระสงฆ์องค์แรกในโลก และพระรัตนตรัยจึงเกิดขึ้นในโลกเช่นกันในวันนั้น ต่อมาได้ทรงแสดงธรรมอื่นโปรดพระอีก ๔ องค์ จนเป็นพระโสดาบัน และเมื่อพระปัญจวัคคีย์เป็นพระโสดาบันหมดแล้ว ทรงแสดงธรรมอนัตตลักขณสูตร ผลปรากฏว่า พระปัญจวัคคีย์เป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น ต่อจากนั้นได้เสด็จไปแสดงธรรมโปรดพระยสะ และพวกอีก ๕๔ ท่านจนเป็นพระอรหันต์หมดจึงมีพระอรหันต์ทั้งสิ้น ในครั้งนั้นรวมทั้งพระองค์ด้วยเป็น ๖๑ พระองค์ พระพุทธเจ้าจึงสั่งสาวกออกประกาศศาสนา โดยมีพระปฐมวาจาในการส่งพระสาวกออกประกาศศาสนาว่า “ดูก่อนพระภิกษุทั้งหลาย เราหลุดพ้นจากบ่วงทั้งปวง ทั้งที่เป็นของทิพย์ และของมนุษย์ แม้พวกเธอได้หลุดพ้นจากบ่วงทั้งปวงทั้งของทิพย์และของมนุษย์เช่นกัน พวกเธอจงเที่ยวไปเพื่อประโยชน์ และความสุขแก่มหาชน เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูล และความสุขแก่ทวยเทพและมนุษย์ พวกเธออย่าไปทางเดียวกัน ๒ รูป จงแสดงธรรมให้งามในเบื้องต้น ในท่ามกลางและในที่สุด จงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะให้ครบถ้วนบริบูรณ์ สัตว์ทั้งหลายผู้มีธุลี คือ กิเลส ในจักษุเพียงเล็กน้อยมีอยู่ แต่เพราะโทษที่ยังไม่ได้สดับธรรม จึงต้องเสื่อมจากคุณที่พึงจะได้รับ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้รู้ทั่วถึงธรรมมีอยู่ แม้เราก็จักไปยังตำบลอุรุเวลาเสนานิคม เพื่อแสดงธรรม” จึงทำให้พระพุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรืองและแผ่ขยายไปในชมพูทวีปอย่างรวดเร็ว ชาวชมพูทวีปพากันละทิ้งลัทธิเดิมแล้วหันมานับถือเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนามากขึ้นโดยลำดับ เมื่อพระพุทธองค์เสด็จปรินิพพานแล้ว ฐานะของพระพุทธศาสนาเดิมไม่แน่นอน เจริญบ้างเสื่อมบ้าง อันเนื่องมาจากเหตุภายใน คือพุทธบริษัทแตกสามัคคี ส่วนเหตุภายนอก คือ ถูกผู้มีอำนาจในศาสนาอื่นเบียดเบียนทั้งในรูปโดยตรง คือใช้กำลังเข้าทำลาย และโดยอ้อม คือ การกลืนศาสนาในรูปแบบต่าง ๆ แต่ในทางพระพุทธศาสนาได้หาทางแก้ไข เช่นมีการจัดทำสังคายนา ร้อยกรองพระธรรมวินัย ที่ถูกต้องไว้เป็นหลักฐานสำหรับยึดถือเป็นแบบแผนต่อไป การสังคายนาครั้งที่ 1 กระทำเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ 3 เดือน ณ ถ้ำสัตบรรณคูหา กรุงราชคฤห์ มีพระมหากัสสปะเป็นประธาน พระอานนท์เป็นผู้ให้คำตอบเกี่ยวกับพระธรรม พระอุบาลีเป็นผู้ให้คำตอบเกี่ยวกับพระวินัย มีพระอรหันต์เข้าร่วม 500 รูป กระทำ 7 เดือนจึงแล้วเสร็จ มีพระเจ้าอชาตศัตรูเป็นองค์อุปถัมภ์ การสังคายนาครั้งนี้เกิดขึ้นเพราะพระสุภัททะกล่าวจาบจ้วงพระธรรมวินัยหลังพุทธปรินิพพานเพียง 7 วัน ทำให้พระมหากัสสปะ ดำริจัดสังคายนาขึ้น ในการสังคายนาครั้งนี้ พระอานนท์ได้กล่าวถึงพุทธานุญาตให้สงฆ์ถอนสิกขาบทเล็กน้อยได้ แต่ที่ประชุมตกลงกันไม่ได้ว่าสิกขาบทเล็กน้อยคืออะไร พระมหากัสสปะจึงให้คงไว้อย่างเดิม เมื่อสังคายนาเสร็จแล้ว พระปุราณะพร้อมบริวาร 500 รูป จาริกมายังแคว้นราชคฤห์ ภิกษุที่เข้าร่วมสังคายนาได้แจ้งเรื่องสังคายนาให้พระปุราณะทราบ พระปุราณะแสดงความเห็นคัดค้านเกี่ยวกับสิกขาบทบางข้อและยืนยันปฏิบัติตามเดิม ซึ่งแสดงให้เห็นเค้าความแตกแยกในคณะสงฆ์ การสังคายนาครั้งที่ 2: การแตกนิกาย เมื่อพุทธปรินิพพานล่วงไป 100 ปี ภิกษุชาววัชชี เมืองเวสาลี ได้ตั้งวัตถุ 10 ประการ ซึ่งผิดไปจากพระวินัย ทำให้มีทั้งภิกษุที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย จนเกิดการแตกแยกในหมู่สงฆ์ พระยสกากัณฑบุตร ได้จาริกมาเมืองเวสาลี และทราบเรื่องนี้ ได้พยายามคัดค้าน แต่ภิกษุชาววัชชีไม่เชื่อฟัง ภิกษุที่สนับสนุนพระยสกากัณฑบุตรจึงนำเรื่องไปปรึกษาพระเถระผู้ใหญ่ในขณะนั้นได้แก่ พระเรวตะ พระสัพกามีเถระ เป็นต้น จึงตกลงทำสังคายนาขึ้น ภิกษุชาววัชชีไม่ยอมรับและไม่เข้าร่วมการสังคายนานี้ แต่ไปรวบรวมภิกษุฝ่ายตนประชุมทำสังคายนาต่างหาก เรียกว่ามหาสังคีติ และเรียกพวกของตนว่ามหาสังฆิกะ ทำให้พุทธศาสนาในขณะนั้นแตกเป็น 2 นิกาย คือฝ่ายที่นับถือมติของพระเถระครั้งปฐมสังคายนาเรียก เถรวาท ฝ่ายที่ถือตามมติของอาจารย์ของตนเรียก อาจาริยวาท การสังคายนาครั้งที่ 3 การแพร่กระจายของพุทธศาสนาในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช เกิดขึ้นในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช เพื่อกำจัดพวกเดียรถีย์ปลอมบวชในพระพุทธศาสนา มีพระโมคคัลลีบุรติสสะเป็นประธาน ใช้เวลา 9 เดือนจึงสำเร็จในการสังคายนาครั้งนี้ พระโมคคัลลีบุรติสสะ ได้แต่งกถาวัตถุขึ้น เพื่ออธิบายธรรมให้แจ่มแจ้ง หลังจากการสังคายนาสิ้นสุดลง พระเจ้าอโศกฯได้ส่งสมณฑูต 9 สายออกเผยแผ่พุทธศาสนา คือ
1. คณะพระมัชฌันติกเถระ ไปแคว้นแคชเมียร์ และแคว้นคันธาระ
2. คณะพระมหาเทวะ ไป มหิสกมณฑล ซึ่งคือแคว้นไมซอร์ และดินแดนลุ่มแม่น้ำโคธาวารี ในอินเดียใต้ปัจจุบัน
3. คณะพระรักขิตะ ไปวนวาสีประเทศ ได้แก่ แคว้นบอมเบย์ในปัจจุบัน
4. คณะพระธรรมรักขิต ไป อปรันตกชนบท แถบทะเลอาหรับทางเหนือของบอมเบย์
5. คณะพระมหาธรรมรักขิต ไปแคว้นมหาราษฎร์
6. คณะพระมหารักขิต ไปโยนกประเทศ ได้แก่แคว้นกรีกในเอเชียกลาง อิหร่าน และเตอร์กิสถาน
7. คณะพระมัชฌิมเถระ ไปแถบเทือกเขาหิมาลัย คือเนปาลปัจจุบัน
8. คณะพระโสณะ และพระอุตตระ ไปสุวรรณภูมิ ได้แก่ ไทย พม่า มอญ
9. คณะพระมหินทระ ไปลังกา พุทธศาสนามหายานในอินเดียได้รับการสนับสนุนโดยราชวงศ์กุษาณ เมื่อสิ้นสุดราชวงศ์กุษาณ พุทธศาสนาได้รับการอุปถัมภ์โดยราชวงศ์คุปตะ มีการสร้างศูนย์กลางการศึกษาพุทธศาสนา คือ มหาวิทยาลัยนาลันทาและมหาวิทยาลัยวิกรมศิลา ในอินเดียตะวันออกเฉียงเหนือ มีอาจารย์ที่มีชื่อเสียง เช่น พระนาคารชุน พุทธศาสนาในสมัยนี้ได้แพร่หลายไปยังจีนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จนกระทั่ง การสิ้นสุดอำนาจของราชวงศ์คุปตะจากการรุกรานของชาวฮั่นในพุทธศตวรรษที่ 11 บันทึกของหลวงจีนอี้จิงที่มาถึงอินเดียในพุทธศตวรรษที่ 12 กล่าวว่า พุทธศาสนารุ่งเรืองในอันธระ ธันยกตกะ และ ฑราวิฑ ปัจจุบัน คือรัฐอันธรประเทศและทมิฬนาดู ยังมีชาวพุทธในเนปาล และสสันภะ ในอาณาจักร คังทา (รัฐเบงกอลตะวันตกในปัจจุบัน) และ หรรษวรรธนะ เมื่อสิ้นสุดยุคอาณาจักรหรรษวรรธนะ เกิดอาณาจักรเล็กๆขึ้นมากมาย โดยมีแคว้นราชปุตให้การอุปถัมภ์พุทธศาสนา จนกระทั่ง ยุคจักรวรรดิปาละในเบงกอล พุทธศาสนามหายานรุ่งเรืองอีกครั้ง และได้แพร่หลายไปยังสิกขิมและภูฏาน ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 13-17 เมื่อจักรวรรดิปาละปกรองด้วยกษัตริย์ราชวงศ์เสนะที่นับถือศาสนาฮินดู ศาสนาพุทธจึงเสื่อมลง ศาสนาพุทธในอินเดียเริ่มเสื่อมลงอย่างช้า ๆ ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมา ความเสื่อมในอินเดียตะวันออกเริ่มตั้งแต่จักรวรรดิปาละหันไปส่งเสริมศาสนาฮินดูไวษณพนิกาย ส่วนในอินเดียเหนือเริ่มเสื่อมตั้งแต่ พ.ศ. 1736 เมื่อชาวเติร์กที่นับถือศาสนาอิสลาม นำโดยมูฮัมหมัด คิลญี บุกอินเดียและเผามหาวิทยาลัยนาลันทา ตั้งแต่ พ.ศ. 1742 เป็นต้นไป ศาสนาอิสลามแพร่เข้าสู่พิหาร ทำให้ชาวพุทธโยกย้ายไปทางเหนือเข้าสู่เทือกเขาหิมาลัยหรือลงใต้ไปที่ศรีลังกา นอกจากนั้น ความเสื่อมของศาสนาพุทธยังเป็นผลมาจากการฟื้นตัวของศาสนาฮินดู ภายใต้การนำของขบวนการต่าง ๆ เช่น อัธไวตะ ภักติ และการเผยแพร่ศาสนาของนักบวชลัทธิซูฟี

28 กุมภาพันธ์ 2552

การนับศักราชและเปรียบเทียบศักราชในเอเชีย

1. การนับศํกราชและการเปรียบเทียบศักราชในเอเชียมีดังนี้
1.1 การนับศักราชแบบจีน นับโดยยึดถือการขึ้นครองราชย์สมบัติของจักรพรรดิเป็นสำคัญ เรียกว่า
รัชศก โดยนับรัชศก1 รัชศก 2และรัชศก 3 ต่อกันไปเรื่อยๆ เมื่อจักรพรรดิ์องค์ใหม่ขึ้นครองราชย์ก็เริ่มนับเป็นรัชศก 1 ใหม่อีกครั้ง วิธีการนับแบบนี้เป็นแบบช่วงๆทำให้เป็นการนับไม่ต่อเนื่องต้องเปลี่ยนแปลงเมื่อมี
จักรพรรดิ์องค์ใหม่ ปัจจุบันจีนเปลี่ยนวิธีนับใหม่เป็นแบบคริสต์ศักราช (ค.ศ)
1.2 การนับศักราชแบบอินเดีย มีวิธีการนับแบบเดียวกับจีนคือนับตามการขึ้นครองราชย์ของกษัตริย์ สมัยพระเจ้ากนิษกะเรียกการนับศักราชว่า มหาศักราช (ม.ศ) ปัจจุบันอินเดียนับศักราชแบบคริสต์ศักราช
(ค.ศ)
1.3 การนับศักราชแบบศาสนาอิสลาม เรียกว่าฮิจเราะห์ศักราช (ฮ.ศ) เริ่มนับเมื่อท่านนบีมูฮัมหมัดกระทำการฮิจเราะห์ (แปลว่าการอพยพโยกย้าย) จากเมืองเมกกะไปยังเมืองเมดินะ โดยฮ.ศ.1 ตรงกับ ค.ศ. 622หรือ
พ.ศ. 1165 ปีของฮ.ศ.เป็นการนับแบบจันทรคติเดือนหนึ่งมี 30 วัน หรือ 29 วัน ทำให้ปีหนึ่งมี 354 วัน แต่เดือนสุดท้ายอาจเพิ่มเป็น 30 วัน แต่ไม่มีการเพิ่มเดือน ทำให้ศักราชของ ฮ.ศ. คลาดเคลื่อนจากจากฤดูกาลไปเรื่อยๆ ดังนั้นทุก 32 ปีครึ่งจึงต้องบวกฮ.ศ.เพิ่มขึ้นอีก 1 ปี ปัจจุบัน ฮศ. น้อยกว่า พ.ศ. อยู่ 1122 ปี น้อยกว่า ค.ศ.อยู่ 579 ปี
2. การเทียบศักราชแบบต่างๆ
2.1 คริสต์ศักราช (ค.ศ.) เริ่มเมื่อมีพระพุทธศาสนามาแล้ว 543 ปี ดังนั้นถ้าต้องการทราบว่า ค.ศ.จจุบันจะตรงกับ พ.ศ. ใดให้เอา ค.ศ. 2009 + 543 =พ.ศ 2552 ถ้าต้องการทราบว่า พ.ศ.ปัจจุบันตรงกับ ค.ศ.ใดให้ลบด้วย 543 เช่น 2552- 543 =ค.ศ. 2009
2.2 มหาศักราช เริ่มเมื่อ ค.ศ. 78 / พ. ศ. 621 ดังนั้น ถ้าต้องการทราบว่า ม.ศ. 1931 จะตรงกับ ค.ศ.ใดให้เอา มศ.+ 78 = คศ. เช่น ม.ศ.1931 + 78 = ค.ศ. 2009 และถ้าต้องการทราบว่า ม.ศ.1931 จะตรงกับ
พ.ศ.ใดให้เอา มศ. +621 = พ.ศ. เช่น ม.ศ.1931 +621 =พ.ศ. 2552
2.3 จุลศักราช เริ่มนับเมื่อ ค. ศ.638 / พ.ศ.1181 ดังนั้นถ้าต้องการทราบว่าจุลศักราชจะตรงกับ ค.ศ.ใดให้บวกด้วย 638 เช่น จ.ศ. 1371+638 = ค.ศ. 2009 และถ้าต้องการทราบว่าจะตรงกับพ.ศ.ใดให้บวกด้วย
1181 เช่น จ.ศ. 1371 + 1181= พ.ศ. 2552
2.4 รัตนโกสินทร์ศก เริ่มเมื่อปีก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ.2325 ดังนั้น ถ้าต้องการทราบว่าร.ศ.ตรงกับ
พ.ศ.ให้ให้บวกด้วย 2325 เช่น ร.ศ. 227 + 2325 =พ.ศ. 2552
2.5 ฮิจเราะห์ศักราช เริ่มนับเมื่อมีพระพุทธศาสนามาแล้ว 1122 ปีและมี ค.ศ. มาแล้ว 579 ปี
ดังนั้นถ้าต้องการทราบว่า ฮ.ศ.จะตรงกับ พ.ศ.ใดให้บวกด้วย 1122 เช่น ฮ.ศ 1430+1122= พ.ศ.2552
และ จะตรงกับค.ศ.ใดให้บวกด้วย 579 เช่น ฮ.ศ. 1430+579= ค.ศ.2009

เมื่อศึกษาเรื่องการนับศักราชและการเทียบศักราชจบแล้วลองคิดดูเล่นๆว่า
1. การนับศักราชแบบจีนและอินเดียเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
2. การนับศักราชของศาสนาอิศลามมีวิธีการนับแบบใด
3. พ.ศ. 1983 จะตรงกับ ค.ศ. ฮ.ศ. ม.ศ. จ.ศ. ร.ศ. ใดมีวิธีการคิดแบบใด
4. ค.ศ. 1920 ตรงกับ พ.ศ.ใด มีวิธีการคิดอย่างไร
5. ม.ศ.200 ตรงกับ ค.ศ.ใด มีวิธีการคิดอย่างไร
6. ร.ศ. 122 ตรงกับ พ.ศ. ใด มีวิธีการคิดอย่างไร
7. ฮ.ศ. 1243 ตรงกับ ค.ศ.ใด มีวิธีการคิดอย่างไร
8. จ.ศ. 1451 ตรงกับ พ.ศ.ใดมีวิธีการคิดอย่างไร
9. พ.ศ. 2325 ตรงกับ ค.ศ. ใด มีวิธีการคิดอย่างไร
10. ค.ศ. 1955 ตรงกับ พ.ศ.ใดมีวิธีการคิดอย่างไร